สรุปจากหนังสือ3เล่ม

ความเป็นมาของขนมไทย 
       ขนมไทย เป็นของหวานที่ทำและรับประทานกันในอาณาจักรไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ
        สำหรับ "เข้าหนม" นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า "หนม" เพี้ยนมาจาก "ข้าวหนม" เนื่องจาก "หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมายของ"ขนม" ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "เข้าหนม" แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน
        ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ บางฉบับกล่าวถึง "ย่านป่าขนม" หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง "บ้านหม้อ" ที่มีการปั้นหม้อ และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง

        แต่เดิมขนมเหล่านี้ เป็นของชาติโปรตุเกตุ เมื่อผ่านกาลเวลาผสมผสานกับความคิด ช่างประดิดประดอยของหญิงไทย ก็ทำให้ขนมเหล่านี้ ปรับเปลี่ยนเป็นขนมไทย ๆ ในเวลาต่อมา


สารรังสิต "ขนมเบื้องป้าเหน่ง"
      ความสำเร็จของกิจการขนมเบื้อง ของ นายวัชระ ประทุมพวง กับการสร้างแบรนด์ธุรกิจครอบครัวสู่แฟรยไชส์ 5 สาขา เขาแค่ทำในสิ่งที่เขารัก ใครจะคิดว่าจากร้านขนมเบื้องเล็กๆ วันนี้จะกลายมาเป็นแบรนด์ธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ


ขนมเบื้อง
รวมเมนูขนมเบื้อง เลิศรสแบบต่างๆ ไว้มากมาย โดยในเล่มได้ให้รายละเอียดของเครื่องปรุง ส่วนประกอบและวิธีทำโดยละเอียด พร้อมภาพตัวอย่างประกอบชัดเจน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการทำขนมทุกท่าน



บรรณานุกรม
อารี พฤกษอาภรรณ์ บทร้อยกรองสำหรับเด็กชุดคุณค่าวัฒนธรรมไทย.(2540)
จรูญศรี มนัสวานิช. "ความเป็นมาของขนมไทย" ขนมไทย.(2536): 1-2
ศรีสมร คงพันธุ์. "ขนมไทยชนิดต่างๆ ขนมไทย1 .สิงหาคม 2534
แสงแดด, สำนักพิมพ์. ขนมไทยประเภทต่างๆ .ขนมไทย 2: ข้อมุลทางบรรณานุกรม ของ                                                
                        หอสมุดแห่งชาติ สำนักพิมพ์แสงแดดผู้รวบรวม

วิภาณี ชีลั่น, (บรรณาธิการ).  (2559)สารรังสิต(241)
จังหวัดประทุมธานี: สำนักงานประชาสัมพันธ์ ชั้น2 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต.   

.พันทิพย์ เชาว์สมบูรณ์.  (2556).ขนมเบื้อง  กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์แม่บ้าน



















Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น